วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรรพคุณของมะลิ

  1. ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง (ดอก)[4]
  2. ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนำไปต้ม แล้วดื่มน้ำกินเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)[9]
  3. หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัม นำมาฝนกับน้ำรับประทาน (ราก)[3]
  4. ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ (ดอก)[1] หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดหัวก็ได้ (ราก)[1],[3]
  5. ช่วยแก้เจ็บตา (ดอก)[4]
  6. รากสดใช้ทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก)[1] ใบและรากใช้ทำเป็นยาหยอดตา (ใบ,ราก)[5] บ้างว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างน้ำสะอาด นำมาต้มกับน้ำจนเดือนสักครู่ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก)[10]
  7. ช่วยแก้อาการเจ็บหู (ดอกและใบ)[3]
  8. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด (ราก)[3],[10] หากปวดฟันผุ ให้ใช้รากมะลิตากแห้งยำมาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ (ราก)[10]
  9. ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดด (ดอกและใบ)[3],[4] รากใช้ฝนกับน้ำเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)[5]
  10. ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[1],[5]
  11. ตำรับยาแก้หวัดแดด มีไข้ ให้ใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน (ดอก)[3]
  12. ดอกสดนำมาตำใส่พิมเสน ใช้สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้หวัด แก้ตัวร้อน (ดอก)[4]
  13. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)[1]
  14. ดอกแก่ใช้เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด (ดอก)[5]
  15. ช่วยแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 1-1.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)[1],[4]
  16. รากใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก (ราก)[1]
  17. ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือเช็ดบริเวณเต้านมเพื่อให้หยุดการหลั่งของน้ำนมได้ (ดอก)[1]
  18. ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น (ใบ)[1] หรือจะใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย (ดอก)[3]
  19. ช่วยแก้อาการเสียดท้อง (ราก)[5]
  20. ใช้ดอกสดหรือดอกแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคบิด แก้อาการปวดท้อง (ดอก[1],[4], ดอกและใบ[3])
  21. ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะนำใบอ่อนใสแช่ในน้ำเย็น ใช้ดื่มกินแก้นิ่วในถุงน้ำดี (ใบ)[9]
  22. ช่วยบำรุงครรภ์รักษา (ดอก)[4]
  23. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี (ราก)[5]
  24. ดอกสดนำมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และแก้ปวดหูชั้นกลาง (ดอก)[1],[4] ช่วยแก้ฝีหนอง (ดอกและใบ)[3]
  25. ใบสดนำมาตำใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แผลโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้ฟกช้ำ และบาดแผล (ใบ)[1] หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง (ใบ)[5]
  26. รากมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาชา ยาแก้ปวด ให้ใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวด (ราก)[1],[3]
  27. ใช้แก้กระดูกร้าว ฟกช้ำ ให้ใช้รากแห้ง 1.5 กรัม นำมาฝนกับเหล้ากิน (ราก)[3] หรือจะใช้รากสดตำพอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกเนื่องจากการหกล้ม (ราก)[3]
  28. ใบมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบ)[5]
  29. ตำรายาไทยจะใช้ดอกมะลิแห้งปรุงเป็นยาหอม โดยจัดให้ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณแก้ไข้ ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น (ดอก)[2],[4]
  30. นอกจากนี้ยังมีการนำดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน เช่น ในตำรับยาหอมเทพจิต ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ และยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์แดง ยามหานิลแท่งทอง เป็นต้น (ดอก)[4]
หมายเหตุ : การใช้ตาม [3] ดอกและใบแห้ง ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ถ้าเป็นรากแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 1-1.5 กรัม นำมาฝนกับน้ำกิน หรือใช้ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนใช้ภายนอกให้ใช้รากสดนำมาตำพอกแผลตามที่ต้องการ[3]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น